ข้อมูลทั่วไปและความเป็นมา
กองอายุรกรรมได้ถือกำเนิดพร้อมกับ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. เป็นตัวจักรและกำลังสำคัญของโรงพยาบาลในการพัฒนาด้านการให้บริการด้านการเจ็บป่วยของข้าราชการและครอบครัว รวมถึงประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง มีภารกิจให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยทางอายุรกรรม และให้คำปรึกษาและร่วมรักษาผู้ป่วยกับกองต่างๆ เช่น ศัลยกรรม, หู คอ จมูก, ตา, สูตินรีเวช และอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคเฉพาะระบบ ศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านอายุรศาสตร์ ให้การฝึกอบรมวิชาอายุรศาสตร์แก่เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ นิสิตแพทย์โครงการรับตรงร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) และแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาต่าง ๆ
กองอายุรกรรม รพ. ภูมิพลอดุลยเดช ได้เริ่มดําเนินการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านสาขาอายุรศาสตร์ในปี พ.ศ. 2528 และได้เริ่มดําเนินการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านต่อยอดอนุสาขาเฉพาะทาง ในปี พ.ศ. 2541
อายุรศาสตร์เป็นสาขาที่ครอบคลุมกว้าง ดังนั้นโรคที่เกี่ยวข้องกับสาขาอายุรศาสตร์จึงมีความหลากหลายทั้งในด้านความชุก ความรุนแรง ความสลับซับซ้อน และความเร่งด่วน ตลอดจนปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างรวดเร็ว อายุรแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจากกองอายุรกรรม รพ.ภูมิพลอดุลยเดช จะต้องศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการวินิจฉัยโรค การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างสม่ำเสมอ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางด้านเวชปฏิบัติทางอายุรศาสตร์แล้ว ต้องมีความสามารถในด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการทำงานแบบมืออาชีพ ความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพหรือทำงานเป็นทีม ความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้มีการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ความสามารถปรับตัวเข้ากับระบบ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อแก้ไขปัญหาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนมีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน และองค์กร
หลักสูตรที่สําคัญของสถาบันฝึกอบรม
กองอายุรกรรม รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ. รับผิดชอบในการดูแลหลักสูตรการฝึกอบรม ดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (สถาบันร่วมของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2. หลักสูตรแพทย์ประจําบ้านสาขาอายุรศาสตร์
3. หลักสูตรแพทย์ประจําบ้านต่อยอด ได้แก่
กิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการฝึกอบรม
MORNING ROUND
ADMISSION REPORT
SUBSPECIALTY GRAND ROUND
SUBSPECIALTY TOPIC PRESENTATION
MEDICINE TOURNAMENT
GET TOGETHER
INTERESTING CASE
MORBIDITY & MORTALITY CONFERENCE
INTERDEPARTMENT CONFERENCE
CLINICOPATHOLOGICAL CONFERENCE
การทำวิจัยของแพทย์ประจำบ้าน
การทํางานวิจัยทางการแพทย์ถือเป็นหนึ่งในบทบาทที่สําคัญของอายุรแพทย์ทุกคนที่จะทําให้มีการ พัฒนาองค์ความรู้อยู่ตลอดเวลาและสามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางอายุกรรม แพทย์ประจําบ้านอายุรกรรมทุกคนจึงได้รับมอบหมายให้ทํางานวิจัยอย่างน้อยหนึ่งเรื่องตลอดช่วงเวลาของการฝึกอบรม
ตามระเบียบของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้กําหนดให้แพทย์ประจําบ้านต้องทํางานวิจัย ได้แก่ งานวิจัยแบบ Retrospective, Prospective หรือ Cross sectional อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือทํา Systematic review หรือ Meta-analysis 1 เรื่อง ในระหว่างการปฏิบัติงาน 3 ปี โดยเป็นผู้วิจัยหลักหรือผู้นิพนธ์หลัก
Resident & Fellow Life
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้านดังนี้
1. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
ก. ทักษะในการซักประวัติตรวจร่างกายการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการรวบรวมข้อมูล สําหรับนํามาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนําไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม รวมทั้งการทําหัตถการที่จําเป็น
ข. วินิจฉัยบําบัดรักษาภาวะผิดปกติทางอายุรศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ค. บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ําเสมอ
ง. ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพ
2. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนําไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and skills)
ก. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจ
ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพและความเชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์
3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based learning)
ก. ดําเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
ข. การใช้ยาและทรัพยากรอย่างสมเหตุผล
ค. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
4. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
ก. นําเสนอข้อมูลผู้ป่วยและอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะให้แพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
ค. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความเมตตา เคารพในการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทํางานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
จ. เป็นที่ปรึกษาและให้คําแนะนําแก่แพทย์และบุคลากรอื่น
5. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
ก. มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยญาติผู้ร่วมงานเพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
ข. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous professional development)
ค. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ง. คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
6. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
ก. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพและระบบยาของประเทศ
ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
ค. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
ง. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้ป่วย
จ. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) สามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบรบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
รายชื่อคณะกรรมการฝ่ายดำเนินการฝึกอบรมและประเมินผลแพทย์ประจำบ้าน กอย. รพ.ภูมิพลอดุลยเดช พอ.
น.อ.หญิง วนิดา ป้อมประสิทธิ์, พ.อ.อ. เมธัส เดชเสน, คุณนันทิภาคย์ ศรีษะสุวรรณ์ โทร.02-534-7340-1, email BAH.medicine@gmail.com