กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
BHUMIBOL ADULYADEJ HOSPITAL
Login สำหรับเจ้าหน้าที่ Login | เลือกธีมปกติ เลือกธีมผู้ที่ตาบอดสี | A A A

หน้าแรก/ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคระบบทางเดินอาหาร

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคระบบทางเดินอาหาร

ด้านการรักษาพยาบาล

  • คลินิกเฉพาะทางโรคระบบทางเดินอาหาร ทุกวัน 9.00-12.00 น.

ห้องตรวจอายุรกรรม อาคารคุ้มเกศชั้น 1

 

  • คลินิกเฉพาะทางโรคตับ วันพุธ 9.00-12.00 น.

ห้องตรวจพิเศษอายุรกรรม อาคารคุ้มเกศชั้น 4

 

  • คลินิกโรคระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร วันศุกร์ 9.00-12.00 น.

ศูนย์ตรวจด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร อาคารคุ้มเกศชั้น 4

 

ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศ

 

               

                                       ศูนย์ส่องกล้องหน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร

      ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ส่วนปลาย และ ลำไส้เล็ก

                                             Esophagogastroduodenoscopyn (EGD)

                                                           Colonoscopy

        ตรวจลำไส้เล็กด้วย VDO capsule endoscopy


 

 

    

   ห้องตรวจวัดพังผืดของตับ Fibroscan และห้องตรวจเฉพาะทางโรคตับ  


 

 

    

  ศูนย์ตรวจด้านระบบประสาทและการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร


 

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร

หลักสูตร 

ชื่อหลักสูตร​     หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจาบ้านต่อยอด เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร  (Fellowship Training in Gastroenterology ) 

ชื่อวุฒิบัตร      วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร (Diploma of the Thai Board of Gastroenterology)  

พันธกิจ 

       โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นสถาบันการแพทย์หลักของกองทัพอากาศ ในการดูแลรักษาข้าราชการกองทัพอากาศ ตลอดจนประชาชนทั่วไป และเป็นสถาบันฝึกอบรมนิสิตแพทย์ ผลิต แพทย์และแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆที่ได้มาตรฐาน หน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงของกับกองอายุรกรรมมีหน้าที่ รับผิดชอบในการดูแลรักษาผู้ปุวยด้านอายุรศาสตโร์คระบบทางเดินอาหารวมทั้งมีหน้าที่ฝึกอบรมผลิตอายุรแพทย์ โรคระบบทางเดินอาหารให้เพียงพอกับความต้องการทางด้านสุขภาพของประเทศไทย และตอบสนองภารกิจของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

       โดยการฝึกอบรมวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารของหน่วยโรคระบบทางเดินอาหาร กองอายุรกรรม นั้นเพื่อให้ผู้ที่จบหลักสูตรมีความรู้และทักษะด้านอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารในระดับมาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถ ด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อ ผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีจิตสำนึกในการรับใช้สังคม มีความรู้ความเข้าใจในระบบสาธารณสุขของประเทศ เพื่อที่จะสามารถให้บริการสุขภาพแก่ชุมชนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์ สามารถทางานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรอื่นๆ รวมทั้งการปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพได้เป็นอย่างดี ตลอดจนมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย

       โดยแพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้

  1. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care)
  2. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนาไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and skills)
  3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based learning)
  4. ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)
  5. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
  6. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)

วิธีการฝึกอบรม

เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ดังกล่าวผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีความรู้ความสามารถในเนื้อหา ต่อไปนี้

  1. ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานของโรคระบบทางเดินอาหารและระบบที่เกี่ยวข้อง
  2. การดูแลรักษาโรคระบบทางเดินอาหารที่สำคัญ โดยแบ่งเป็นโรคที่สาคัญในระบบทางเดินอาหารซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องวินิจฉัยและรักษาได้ไม่ว่าโรคจะอยู่ในระดับใดก็ตาม
  3. หัตถการและการแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องรู้ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม และภาวะแทรกซ้อนของการทาหัตถการต่าง ๆ
  4. การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องทางานวิจัย ได้แก่ งานวิจัยแบบ retrospective, prospective หรือ cross sectional อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือทำ systematic review หรือ meta-analysis 1 เรื่อง ในระหว่างการ ปฏิบัติงาน 2 ปี โดยเป็นผู้วิจัยหลัก
  5. การเรียนรู้ทางด้านบูรณาการ - เพื่อพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ อาทิ เช่น Humanism, Professionalism, จริยธรรมทางการแพทย์ เป็นต้น

ระยะเวลาการฝึกอบรม 

หลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลา 2 ปี

การประเมินผล

จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ดังนี้

  1. มีการประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรมระหว่างการฝึกอบรม ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจต คติ และกิจกรรมทางการแพทย์ ให้บรรลุตาม entrustable professional activities (EPAs) ในแต่ละชั้นปี
  2. จัดให้มีการประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในด้านการทำงานวิจัย ให้เป็นไปตามที่เสนอต่อ อนุกรรมการฝ่ายวิจัยของสมาคมฯ ตามระยะเวลาที่สมาคมฯ กำหนด มีการแจ้งกระบวนการการวัดและประเมินผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับทราบ โดยผู้เข้ารับ การฝึกอบรมสามารถตรวจสอบและอุทธรณ์ได้เมื่อต้องการ ภายหลังการประเมินจะมีการป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม